วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยา การคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป้าหมายคือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์1. Cognitive Scienceงาน ด้านนี้เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร จึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network)ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet) ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic)เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm)เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents) ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems)2. Roboicsพื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต็ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ สามารถเครื่องไหวได้เหมือนกับมนุษย์3. Natural Interface งาน ด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยงานด้านต่างๆระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language)ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality)ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (
Expert Systems)เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ปัญหาหรือช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์องค์ประกอบของผู้เชี่ยวชาญ1. ฐานความรู้ (Knowledge Base) เป็นส่วนของความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด ซึ่งจะเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ2. โปรแกรมของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System Software หรือ Software Resources) แบ่งออกได้ 2 ส่วน          1) ส่วนที่ใช้ในการประมวลผลความรู้จากฐานความรู้
    2) ส่วนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (
Geographic Information Systems : GIS) คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน
1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น เครื่องอ่านพิกัด เครื่องกวาดตรวจ พล็อตเตอร์  เครื่องพิมพ์ ฯลฯ2. โปรแกรม คือชุดคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ3. ข้อมูล คือข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในระบบ GIS4. บุคลากร คือผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบ GIS5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน

 การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์
งานทางด้าน AI นั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ ซึ่งแล้วแต่ไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ในการนำไปประยุกต์ใช้แต่โดยทั่วไป เราสามารถแบ่งแขนงของ งานA.I. ได้ดังนี้ 1. การเล่นเกม
          AI ชนิดถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นอย่างแรกๆของ AI เลยทีเดียว ในการวิจัยเกี่ยวกับเกมของ AI จะเน้นไปในการเล่นเกมกระดาน เพราะเกมเหล่านี้จะมีกฎกติกาที่ตายตัว และไม่มีความสลับซับช้อนมากในการเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผล มากนัก เช่นเกม หมากรุก ,puzzle เป็นต้น การพัฒนาทางด้านนี้ทำให้เกิด Heuristics search(ขบวนการการค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด) ซึ่งเป็นงานวิจัยที่สำคัญของ AI อีกด้านแขนงหนึ่ง2. การให้เหตุผลและการพิสูจน์ทฤษฎีอย่างอัตโนมัติ 
           งานในแขนงนี้เป็นงานที่เก่าแกที่สุดของกระบวนการในทาง AI  ซึ่งในอดีตนักคณิตศาสตร์หลายท่านพยายามที่จะใช้คณิตศาสตร์ในการ แก้ปัญหาต่างๆอยู่เสมอ 3. ระบบผู้เชียวชาญ (Expert System)
          การสร้างผู้เชี่ยวชาญคือการกำหนดขอบเขตความรู้ให้กับ A.I. ซึ่งเป็นขอบเขตความรู้ที่แคบๆ แต่ สามารถรู้ได้อย่างลึกซึ้ง  A.I. ในแขนงนี้เป็นว่าเป็นบทเรียนใหญ่ในมหาวิทยาลัยทั่วๆไปที่สอนเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์เลยทีเดียว
4. การเข้าใจภาษาธรรมชาติและการสร้างรูปแบบความหมาย
           A.I. ชนิดนี้ เน้นไปที่การสร้างโปรแกรมที่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ได้  มีการตอบโต้กับมนุษย์ได้  อาจจะเป็นลักษณะการพูดตอบโต้หรือการสื่อความหมายในรูปแบบอื่น แม้จะมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ A.I. ในลักษณะนี้ก็ต้องถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าทีควร เพราะภาษาของมนุษย์เรานั้นมีหลายภาษาแล้วแต่ถิ่นฐานเชื้อชาติ รวมถึงศัพท์แสลงต่างๆที่ออกจะเป็นการยากสักหน่อยในการพัฒนาแต่เชื่อแน่ว่าในระยะเวลาไม่นานนี้  A.I. จะสามารถทำได้อย่างดีทีเดียว
5. การสร้างรูปแบบตามอย่างการทำงานของมนุษย์ 
           A.I. ในแขนงนี้เน้นหนักไปทางด้าน การเลียนแบบความคิดมนุษย์ และมีสติปัญญาที่เท่าทันกัน  โดยมุ่งเน้นศึกษาไปในวิธีคิดของมนุษย์เพื่อเลียนแบบออกมาเป็น A.I.6.การวางแผนและหุ่นยนต์ 
          เป็นการสร้างและออกแบบหุ่นยนต์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมนุษย์เรา หุ่นยนต์อาจจะถูกสั่งให้เดินหน้าเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาได้แต่เมื่อเจอสิ่งกีดขวางบางทีมันก็ดันทุลังที่จะเดินหน้าต่อไป เพราะโปรแกรมเขียนมาอย่างนั้น แต่ในปัจจุบันมีหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น
7. ภาษาและสภาพแวดล้อมสำหรับ AI

          การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้าน AI นั้น เป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้มีการพัฒนาในส่วนของโปรแกรม ควบคู่ไปด้วยกัน โปรแกรมเมอร์จะต้องเรียนรู้และพัฒนาเทคนิคในการเขียนโปรแกรมควบคู่กันไป

                              
RQ-4 Global Hawk เครื่องบินไร้คนขับ
ภาพจาก http://airvoila.com
AI ในปัจจุบัน

          ในปัจจุบันหลายหน่วยงานพยายามส่งเสริมด้านการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับ AI อยู่หลายแห่ง หลายองค์กรจัดให้มีการแข่งขันเกี่ยวกับการเขียน AI อยู่เสมอ หรืออย่างที่เพิ่งผ่านไปสดๆร้อนๆ อย่าง Robocode Thailand Contest 2009 ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษารวมทั้งประชาชนทั่วไปหันมาประลองความสามารถทางด้าน A.I. กัน
          แม้ A.I. จะทำอะไรได้มากมายแต่หากเทียบกับจุดมุ่งหมายเดิมที่ต้องการสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่มีความรู้ความคิดเท่าทันมนุษย์แล้วนับได้ว่า A.I. ในปัจจุบันยังห่างไกลกับความซับซ้อนของระบบความคิดของมนุษย์พอสมควร แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย  สิ่งที่ A.I. ยังขาดไปคือ จินตนาการ และแรงบันดานใจ ที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์เราทุกคนแล้วแต่จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามวัยและประสบการณ์ รวมทั้งความรู้จักคิดรู้จักตั้งคำถาม  หรือการพัฒนาองค์ความรู้จากประสบการณ์ ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ A.I. ยังไม่สามารถมีได้ทัดเทียมกับมนุษย์เรา  แต่หากเปรียบเทียบกันในเรื่อง ความว่องไวแม่นยำในการคิดการประมวลผลแล้วแน่นอนว่า มนุษย์เราไม่สามารถทำได้เร็วเท่า  ความว่องไวแม่นยำเป็นซึ่งเป็นจุดเด่นของ สมองกลอยู่แล้ว แถมซ้ำมนุษย์เรายิ่งแก่ก็ยิ่งหลงๆลืมๆ  ไปตามวัย
          ดังนั้นพอจะอนุมานได้ว่า A.I. เป็นตัวเสริมความรู้ของมนุษย์เราในด้านที่บกพร้องต่างๆ เป็นการเติมเต็มในบ้างสิ่งที่มนุษย์เราขาดหายไป หรือ หลงลืมไปในบางรายละเอียด ทั้งการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ยังเป็นการพิสูจน์ศักยภาพของมนุษย์ว่าจะสามารถพัฒนาสิ่งไม่มีชีวิตให้กลับมา เป็นสิ่งซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดอย่างมนุษย์หรือเข้าใกล้มนุษย์ได้มากน้อย เพียงใด ล้วนเป็นคำถามที่น่าสงสัยและรอการไขสู่คำตอบอยู่ทุกเมื่อ


การประยุกต์ใช้ A.I.           A.I.ถูกนำมาประยุกต์เพื่อการใช้งานในหลายๆส่วน ซึ่ง จุดเด่น ของ AI คือสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีความแม่นยำสูง และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว- ทางด้านการแพทย์
          มีการนำแขนกลเข้าไปช่วยการผ่าตัด ซึ่ง สามารถทำงานได้ละเอียดกว่ามนุษย์มาก และข้อดีอีกประการคือการไม่มีความวิตกกังวล เกิดขึ้นในขณะทำงานอย่างเช่นในมนุษย์ที่อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้  การใช้แขนกลช่วยในการผ่าตัด เป็นการทำงานที่มีความปลอดภัยสูง และอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์จึงเป็นการร่วมงานกันอย่างดีเยี่ยมระหว่างคนกับเครื่องจักรกล

ทางด้านงานวิจัย 
          ในหลายงานวิจัย เริ่มมีการใช้ A.I. เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน เช่นการสำรวจในบริเวณพื้นที่ทีมีความเสี่ยง อย่าง ปากปล่องภูเขาๆไฟ หรือในมหาสมุทรที่มีความลึกอย่างมากก็สามารถ สามารถใช้หุ่นยนต์สำรวจลงไปทำงานแทนได้ เพราะเครื่องจักรพวกนี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ดีกว่ามนุษย์มาก ทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดและแม่นยำกว่ามนุษย์
- ทางด้านอุตสาหกรรม
          เป็นการช่วยลดภาระทางต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก  ทั้งในงานบางประเภทที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือมีความเสี่ยงสูง จนไม่ค่อยมีใครอยากทำก็สามารถใช้ หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์มาทำงานแทนได้- ทางด้านการบันเทิง 
          มีการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถตอบโต้กับมนุษย์ได้ เป็นสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนเล่น
ด้านทางการทหาร
           A.I หรือปัญญาประดิษฐ์ในพวกนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็น เครื่องบินไร้คนขับ  รถถังไร้คนขับ โดยมีจุดประสงค์หลักในทางด้านความมั่นคง



Asimo กำลังเล่นฟุตบอล
ภาพจาก http://www.boskowan.com
          ปัจจุบันมีการสร้างและพัฒนาหุ่นยนต์ที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น และที่ดูฮืออาและได้รับความสนอกสนใจจากคนทั่วไปมากที่สุดเห็นจะเป็น  อาซิโม (Asimo) หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น ที่ สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 มันสามารถทำอะไรได้หลายๆอย่างจนกระทั่งสร้างความฉงนให้มนุษย์เราได้มากพอสมควรทั้ง ทั้งสามารถเดินและวิ่งได้อย่างอิสระ ขึ้นบันไดและเต้นรำได้  เคลื่อนย้ายวัตถุจากที่หนึ่งไปอีกทีหนึ่ง สามารถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ มีระบบบันทึกเสียงเพื่อตอบสนองคำสั่งของมนุษย์ รวมไปถึงหุ่นยนต์ "ไอโบ" (Aibo) หุ่นยนต์สุนัขแสนรู้จากค่าย โซนี่  หรือ หุ่นยนต์แมว อย่าง "เนโคโร" และ "แม็กซ์" ที่พัฒนาโดย บ.ออมรอนของญี่ปุ่น
          แนวโน้มของการพัฒนา ปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นรูปธรรมมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาอันใกล้เราอาจจะเห็นปัญญาประดิษฐ์รูปแบบใหม่ๆที่ คล้ายมนุษย์มากขึ้นทุกวัน เพราะนับจากการปฎิวัติอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ก็พัฒนาแบบก้าวกระโดดเรื่อยมา
แต่ในขณะเดียวกันหากเราใช้วิถีชีวิตที่ยึดติดกับเทคโนโลยีมากเกินไป มนุษย์เราก็อาจจะถูกลดทอนความสำคัญลงเพราะคนไม่ต้องสนใจในผู้คนรอบข้างมากนักไม่ต้องกังวลว่าจะกลายเป็นคนไม่มีเพื่อนเมื่อเหงาก็สามารถพูดคุยกับ หุ่นยนต์ได้ เหมือนอย่างเช่นเทคโนโลยีหลายๆอย่างที่ทำให้คนห่างไกลกัน แต่ถึงกระนั้นหากมนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ตัวเองสร้าง อย่างเท่าทันก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ เราจะมีสิ่งประดิษฐ์ที่มีความคล้ายคลึงกับมนุษย์และมีความฉลาดที่เกือบจะทัดเทียมกัน ..ปัญญาประดิษฐ์นับได้ว่าศาสตร์แห่งชีวิตอนาคตอย่างแท้จริง
   

กรณีศึกษา American Management System

คำถามกรณีศึกษา
1. อะไรคือส่วนประกอบของการจัดการองค์ความรู้ที่ AMS
ตอบ  1. ทรัพยากรบุคคล ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและเครือข่าย
          2. สิ่งที่สนับสนุนข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลออก จัดเก็บและกิจกรรมควบคุม
          3. ผลิตภัณฑ์สารสนเทศที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้
2. ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ AMS ได้รับจากระบบการจัดการองค์ความรู้
ตอบ     เป็นระบบการจัดการองค์ความรู้ เพื่อช่วยให้พนักงานขององค์กรที่มีความรู้ช่วยกันจัดโครงสร้างและแบ่งปันความรู้ทางธุรกิจในรูปของอินทราเน็ตเว็บไซต์ ในหัวข้อ การปฏิบัติงานที่ดี
3. ธุรกิจอื่นๆที่จะใช้อินทราเน็ตสำหรับการจัดการความรู้แบบเดียวกันกับ AMS   จะทำได้อย่างไร
ตอบ   คือจะต้องมีทรัพยากรทั้ง 5 ประการ คือ
1. ทรัพยากรบุคคล (People Resources) บุคคลที่พัฒนาและควบคุมระบบสารสนเทศ ได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
2.ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware Resources) ประกอบด้วย อุปกรณ์กายภาพ (Physical Devices) และวัตถุดิบที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศ ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ของระบบสารสนเทศมีดังนี้
1. ระบบคอมพิวเตอร์
2. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์รอบข้าง
3.ทรัพยากรซอฟต์แวร์ (Software Resources) เป็นชุดคำสั่งของการประมวลผลทั้งหมด ทั้งชุดคำสั่งของการปฏิบัติงานที่เรียกว่า โปรแกรม (Programs) ซึ่งควบคุมการทำงานโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผลสารสนเทศที่ผู้ใช้
4.ทรัพยากรข้อมูล (Data Resources) ข้อมูลเป็นทรัพยากรที่ต้องมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ในองค์กร ข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบ ทั้งข้อมูลตัวอักขระที่ประกอบด้วยตัวเลขและตัวอักษร ทรัพยากรข้อมูลของระบบสารสนเทศโดยปกติจะรวบรวมเป็นฐานข้อมูล (Databases) ที่เก็บข้อมูลที่ประมวลผลและจัดระเบียบแล้ว ฐานความรู้ (Knowledge Bases) ที่เก็บความรู้ในรูปแบบหลากหลาย
5. ทรัพยากรเครือข่าย (Network Resources) เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ การประมวลผลสื่อสารและอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมโยงระหว่างกันด้วยสื่อการติดต่อสื่อสารและควบคุมด้วยซอฟต์แวร์สื่อสาร แนวความคิดเรื่องเครือข่ายที่เน้นเครือข่ายการติดต่อสื่อฐานเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของทรัพยากรของทุกระบบสารสนเทศ

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 5 - 6

แบบฝึกหัดบทที่ 5
1. เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
                2 แบบ ดังต่อไปนี้
 1. การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Organization) เป็นวิธีการจัดเก็บและรวบรวมระเบียน (Record) ของข้อมูลมูลตามลำดับก่อนหลัง โดยจัดเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย โดยผู้ใช้จะต้องเรียกข้อมูลตามลำดับที่จัดไว้ วิธีการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับเหมาะกับงานที่มีระยะเวลาในการประมวลผลค่อนข้างแน่นอน และต้องใช้ข้อมูล ปริมาณมากในการประมวล ซึ่งการจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับมีข้อดีดังต่อไปนี้
- ช่วยให้งานออกแบบแฟ้มข้อมูลง่าย
- สะดวกต่อการออกแบบและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการประมวลผลข้อมูลในปริมาณมาก
- ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์
- เสียเวลาในการดำเนินงาน
- ข้อมูลไม่ทันสมัยหรือไม่เป็นไปตามความจริง
- ต้องจัดลำดับข้อมูลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะมีการนำไปแก้ไขแฟ้มข้อมูล
2. การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Randon File Organization) เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มทำให้การใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลไม่มาก นอกจากนี้การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อดีดังต่อไปนี้
- การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว
- สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
- มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ
- ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ
- มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง

2. จงอธิบายความหมาย ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Randon File Organization) เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มทำให้การใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลไม่มาก นอกจากนี้การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อดีดังต่อไปนี้
- การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว
- สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
- มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ
- ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ
- มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง

3. ฐานข้อมูลคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
ฐานข้อมูล (Database) หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น
2. แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย
3. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์

5. จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท
1. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น มีประโยชน์แสดงโครงสร้างข้อมูลที่มีมีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลาย
2. แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย มีประโยชน์เป็นแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกว่าแบบจำลองเชิงลำดับขั้น
3. แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์ มีประโยชน์ในการจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบตาราง 2 มิติ ซึ่งแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์แสดงความสัมพันธ์ที่อยู่ในตารางเดียวกัน หรือตารางที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกด้วย


6. ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
               ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems DBMS) หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล คัดเลือกข้อมูล และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ กับหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่ง DBMS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
1. ภาษาสำหรับนิยมข้อมูล
2. ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล
3. พจนานุกรมข้อมูล

7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
พจนานุกรมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่จัดเรียบเรียงความหมาย และอธิบายลักษณะที่สำคัญของข้อมูลในฐานข้อมูลที่เข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและระเบียบ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้าและนำไปใช้อ้างอิงในอนาคต เนื่องจากอาจมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เปลี่ยนแปลงผู้บริหารฐานข้อมูล หรือเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต โดยพจนานุกรมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการข้อมูล เพราะจะช่วยให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใจระบบได้ง่ายขึ้น

8. นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง
1. กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
2. พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยฐานข้อมูล
3. จัดทำหลักฐานอ้างอิงของระบบฐานข้อมูล
4. ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
5. ประสานงานกับผู้ใช้



9. เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ (CIO) และ CIO มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร
ปัจจุบันหลายองค์การได้มีการจัดหน่วยงานทางด้านฐานข้อมูลขององค์การขึ้นตรงต่อผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบด้านสานสนเทศ เช่น รองประธานบริษัท ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้างานด้านสารสนเทศ

10. จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศฐานข้อมูลในอนาคต
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย

แบบฝึกหัดบทที่ 6
1.ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจอย่างไร
เทคโนโลยีการสื่อสารมีส่วนช่วยให้การดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยให้การส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรสาร โทรศัพท์ อีเมล์โทรทัศน์และอื่นๆ

2.ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน
3.เครือข่ายบริเวณกว้างหรือแวน
4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต



3.ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่(LAN)และระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่(WAN)มีความแตกต่างกันอย่างไร
Local Area Network (LAN)คือ เครือข่ายข้อมูลความเร็วสูง โดยจะครอบคลุมพื้นที่ไม่ใหญ่มาก เช่น ภายในสํานักงาน ภายในอาคาร หรือภายในองค์กรหรือบริษัท โดยคอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย อย่างเช่น ฮับ (Hub), สวิทชิ่งฮับ (Switching Hub) หรือ Access Point ด้วยสายคู่ตีเกลียว (Unshield Twisted Pairs หรือ UTP) หรือด้วยคลื่นวิทยุ และอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวการเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายคู่ตีเกลียว (Unshield Twisted Pairs หรือ UTP) หรือสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการสื่อสารแบบคลื่นวิทยุ (Wireless) แบบใดแบบหนึ่งหรือผสมผสานกันก็ได้ และแต่เครือข่าย Local Area Network (LAN) จะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์ที่ชื่อเราเตอร์ (Router) Wide Area Networks (WAN) คือ เครือข่ายที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ LAN ที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เข้าด้วยกัน โดยจะที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่กว่าแบบ MAN เช่น การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างประเทศ โดยจะเชื่อมต่อด้วย คู่สายเช่า (Leased line) ระบบไมโครเวฟ หรือผ่านดาวเทียม และการเชื่อมต่อระหว่างแต่ละโหนดนั้นอาจมีความเร็วไม่สูงมาก

4.จงเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน
3.เครือข่ายบริเวรกว้างหรือแวน
4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

5.รูปแบบของเทคโนโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน
3.เครือข่ายบริเวณกว้างหรือแวน
4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
6.ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ลักษณ์ อะไรบ้าง
ช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด
1.ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pairWire)สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable)
2.ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม(Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์

7.สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพน์ สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง มีความแตกต่างกันอย่างไร
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
- สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHzถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
- สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)
สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก

8.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญาณแบบแอนะล็อก กับสัญญาณแบบดิจิตอล
1. สัญญาณแบบแอนะล็อก (Analog Signal) จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆ ค่า ที่เปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมาย การส่งสัญญาณแบบนี้จะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากค่าทุกค่าถูกนำมาใช้งาน ซึ่งสัญญาณแบบแอนะล็อกนี้จะเป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสารส่วนมากใช้อยู่เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
2. สัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Signal) จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่าคือ สัญญาณระดับสูงสุด และสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบอนาลอกเนื่องจากมีการใช้งานค่าสองค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on/off หรือ0/1 เท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

iPhone 4S เปิดขายวันแรกในจีนก็เป็นเรื่อง!!

ถือเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาเลยทีเดียวสำหรับการเปิดขาย iPhone 4S วันแรกในประเทศจีน เมื่อวันที่ 13-01-2012 โดยเป็นการเปิดจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ iPhone 4S ในประเทศจีน โดยบรรยากาศก็อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่า ทุกครั้งที่ Apple เปิดจำหน่าย iPhone วันแรกก็จะมีผู้คนจำนวนมากเข้ามารอซื้อกันอย่างล้นหลาม เช่นเดียวกันกับ Apple Store ที่กรุงปักกิ่ง ช่วงคืนก่อนวันจำหน่าย ก็มีผู้คนหลายร้อยมายืนรอกันเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นเมื่อเข้าสู่เช้าวันศุกร์ ก็กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตขึ้นมา เนื่องจากได้มีผู้ค้ารายย่อยเข้ามาร่วมรอคิวซื้อกันเป็นจำนวนมาก จนเกิดเป็นจราจลขึ้นมาเลยทีเดียว เนื่องจากว่าคนที่มารอกันเป็นจำนวนมากนั้นต้องผิดหวัง จากการที่ Apple Store นั้นได้ประกาศงดการจำหน่าย iPhone เป็นการชั่วคราว เนื่องจากเป็นห่วงความปลอดภัยของ ลูกค้าและเจ้าหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติงานภายใต้ผู้คนจำนวนมาก เมื่อได้ยินดังนี้กลุ่มผู้คนที่ยังรออยู่ถึงกับโมโห มีการขว้างปาไข่ไปยัง ร้าน Apple Store รวมทั้งยังมีภาพวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ Apple โดนรุมทำร้ายอีกด้วย
หลังจากเหตุการณ์เริ่มรุนแรงขึ้น ทางการจีนจึงต้องส่งตำรวจมาควบคุม สถานการณ์ ให้อยู่ในความสงบ ซึ่งจากภาพข่าวรายงานว่าเป็นตำรวจ หน่วยสวาท ของเมืองปักกิ่ง กันเลยทีเดียว
จากการสืบสวนได้มีการรายงานว่า เกิดจากกลุ่มผู้ค้าที่ต้องการซื้อเครื่องเพื่อนำไปขายต่อได้ก่อเหตุ เนื่องจากไม่พอใจที่ไม่ได้เครื่องเพื่อไปค้าเก็งกำไร โดยมีกลุ่มผู้ค้ามากกว่า 30-50 กลุ่มเลยทีเดียวที่มารอซื้อเครื่องเพื่อนำไปขายต่อ
โดยตัวแทนของ Apple เองก็ได้ออกมาพูดว่า ความต้องการของ iPhone 4S สูงมากในตอนนี้ ต้องขออภัยด้วยที่ไม่สามารถเปิดร้านเพื่อรองรับความต้องการที่มากขนาดนี้ได้ เพราะความปลอดภัยจำเป็นต้องมาก่อนเสมอ แต่สำหรับผู้ที่สนใจก็ยังสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้หรือซื้อผ่านเครือข่ายมือถือได้เช่นกัน
อ้างอิง   http://it.compgamer.com/?p=7606
วิเคราะห์ข่าว : เห็นด้วยกับข่าวการงดขาย iPhone 4S เพราะทุกครั้งที่ Apple เปิดจำหน่าย iPhone วันแรกก็จะมีผู้คนจำนวนมากเข้ามารอซื้อกันอย่างล้นหลาม  ซึ่งลูกค้ามีความต้องการของ iPhone 4S สูงมากในตอนนี้ และความปลอดภัยจำเป็นต้องมาก่อนเสมอ แต่สำหรับผู้ที่สนใจก็ยังสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้หรือซื้อผ่านเครือข่ายมือถือได้เช่นกัน

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 14

สรุปบทที่ 14 แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การดำเนินชีวิตในสังคมสารสนเทศจะมีการพัฒนาและนำเทคโนโลยีระดับสูงมาสนับสนุนการทำงานและการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยนี้จะพัฒนารวดเร็วกว่าสมัยอุตสาหกรรมมาก ข้อมูลและข่าวสารจะมีการเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วและอิสระ พรมแดนทางการเมืองจะลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจการค้าที่ขยายตัวสู่ระดับโลกในที่สุด ประชาชนจะมีความเป็นอิสระในการรับรู้ข่าวสารและขั้นตอนการทำงาน โดยที่หลายหน่วยงานมีการลดขนาดลง บางหน่วยงานศึกษาถึงการปรับตัวให้มีขนาดที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งการรื้อปรับระบบ เพื่อให้สามารถดำเนินงานแข่งขันธุรกิจอื่นอย่างคล่องตัว
ความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถมองข้ามหรือปล่อยให้หัวหน้างานหรือหน่วยงานสารสนเทศดูแลรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายและการใช้งานเทคโนโลยีเพียงฝ่ายเดียวประกอบกับการกระจายตัวของการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในหน่วยงานต่างๆทำให้สมาชิกในองค์การมีความคุ้นเคยและเข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น จึงต้องมีการกำหนดทิศทางการจัดการเทคโนโลยีร่วมกัน ซึ่งต้องได้รับการเริ่มต้นและส่งเสริมจากผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเข้าใจเทคโนโลยีที่มีต่ออนาคตขององค์การ โดยติดตามข่าวสารข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเทคโนโลยี นอกจากนี้การจัดตั้งคณะกรรมการสารสนเทศขององค์การจากบุคคลหลายกลุ่ม จะช่วยให้การกำหนดนโยบายด้นสารสนเทศขององค์การมีความชัดเจน แน่นอน และถูกต้องขึ้น

แบบฝึกหัดบทที่ 14

1.จงยกตัวอย่างการปรับตัวขององค์การในยุคสารสนเทศ
1.องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
2.มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการทำงาน
3.ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง
4.หลายหน่วยงานได้ปรับโครงสร้างขององค์การจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครงสร้างระบบเครือข่าย

2.เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหรือการรื้อปรับระบบขององค์การอย่างไร?
เพื่อให้สามารถดำเนินงานและแข่งขันกับธุรกิจอื่นอย่างคล่องตัว

3.ผู้บริหารสมควรจะเตรียมความพร้อมในการนำองค์การเข้าสู่ยุคสารสนเทศอย่างไร?
1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การและในอนาคต
2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย
เราจะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศถูกใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การในหลายด้าน ตั้งแต่ การประมวลผลงานประจำวัน การตัดสินใจของผู้จัดการ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมรูปแบบใหม่ในการสื่อสารข้อมูล และการเพิ่มผลผลิตขององค์การ

4.เทคโนโลยีที่มีผลต้องการดำเนินงานขององค์การมีอะไรบ้าง?
1. ประโยชน์โดยตรง ปกติองค์การเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
2. ความยืดหยุ่น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานให้แก่องค์การ ส่งผลให้องค์การสามารถ พัฒนาและปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
3. ความสามารถในการแข่งขัน นอกจากการใช้งานตามประโยชน์โดยตรงแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ เพื่อให้องค์การสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และพัฒนาการดำเนินงาน ทั้งภายในและภายนอก องค์การได้เร็ว กว่าคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4. รายได้ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มรายได้แก่องค์การทั้งโดยตรงและทางอ้อม เช่น การรวบรวมและให้บริการและ ให้บริการด้านสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์การอื่น
5.ค่าใช้จ่าย ประโยชน์ประการสำคัญของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานปัจจุบันคือ การลดค่าใช้จ่าย และการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์การเช่น การประเมิน ผลข้อมูล การตรวจสอบ และการควบคุม ค่าแรงงาน เป็นต้น
6. คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ระบบผลิต
7. โอกาส ปัจจุบันความได้เปรียบด้านสารสนเทศได้สร้างความแตกต่างระหว่าง องค์การองค์การ ที่มีศักยภาพด้าน สารสนเทศ สูงย่อมสามารถนำความรู้มาประยุกต์ในการสร้างโอกาสในการดำเนินงานทั้งทาง ตรง เช่น การนำสารสนเทศมา ประยุกต์เชิงกลยุทธ์ และทางอ้อม เช่นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ

5.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีผลต่อการดำเนินงานขององค์การอย่างไร?
ทำให้องค์การสามารถรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์การได้อีกด้วย

6.เทคโนโลยี RISC มีผลต่อพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอย่างไร?
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (Very Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์


7.จงอธิบายความหมายและประโยชน์ในการใช้งานของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
การใช้งาน
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดเค้าร่าง (schema) ที่ต้องการสำหรับการอธิบายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการบริการ โดยให้สารสนเทศเกี่ยวกับการบ่งชี้ ขอบเขต คุณภาพ เค้าร่าง เชิงพื้นที่และเชิงเวลา การอ้างอิงเชิงพื้นที่ การเผยแพร่ของสารสนเทศภูมิศาสตร์เชิงเลข

8.เหตุใดผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ?
เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา

9.ปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมสารสนเทศเพียงไร โดยเฉพาะความรู้และความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
สังคมส่วนใหญ่เกือบทุกสังคมในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และนับถือสังคม “เปิด” ที่ประชาชนมีความสนใจและมีการบริโภคข่าวสารในอัตราสูง และในปัจจุบันสื่อสารมวลชนก็ยังมีเสรีภาพที่ค่อนข้างจะเต็มเปี่ยม เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงกับไทย ที่จัดว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่สังคมเปิดของไทยจะยังสมบูรณ์เต็มที่ไม่ได้ หากกลไกของรัฐ ยังไม่สามารถจะขจัดอุปสรรคที่ยังมีเหลืออยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้มีการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปของราชการแก่สาธารณชนได้อย่างเปิดเผยและเสรีเต็มที่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น ความรู้ ซึ่งหมายถึง สารสนเทศผนวกกับทักษะประสบการณ์ของบุคลากร ความรู้จะเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มขององค์การ ที่พร้อมจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในองค์การ ในการบริหารความสำเร็จจำเป็นต้องขยายผลจากการทำให้วิสัยทัศน์มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความกระตือรือร้นขององค์กรในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ และเพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อเกิดความก้าวหน้าในการดำเนินกิจการไปสู่เป้าหมายร่วมกันขององค์การ ประสิทธิภาพ ประสิทธิ ผลขององค์การ ขึ้นกับความสามารถของบุคลากรในองค์การ ในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์ แนวคิด เทคนิคการดำเนินงาน นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน ภายในองค์การ เราต้องสร้างตัวเร่งในขับเคลื่อนให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน เอื้ออำนวย ดังนั้นความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์การให้ก้าวไปข้างหน้า สำหรับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงขึ้นอยู่กับเราท่านลูกพ่อขุนทุกคน

10.จงยกตัวอย่างปัญหาด้านจริยธรรมหรือความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ความเป็นส่วนตัง (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ข้อมูลสำหรับส่วนบุคคล และเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์โดยทังไปชาวอเมริกันถือว่าในเรื่อสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวมากโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารต่างๆหากไม่ได้รับอนุญาตแล้วจะเข้ามาสังเกตและเรียกใช้ข้อมูลไม่ได้ทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่ถือว่าเป็นความลับส่วนบุคคลทีเดี่ยวซึ่งตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยกว่าชาวอเมริกันมาก
2.ความถูกต้อง (Accuracy) การทำงานในองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ การเก็บฐานข้อมูลไว้ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้อาจจะเก็บรวบรวมข้อมุมูลที่ไม่ถูกดต้อง หรือมีการแอบเข้ามาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก็ได้
3.ความเป็นเจ้าของ(Property)เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแพร่กระจายไปได้ในรูปของสื่อสารแบบต่าง ๆ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลและโปรแกรมอย่างถูกต้องนั้นยังเป็นคำถามที่ยาต่อการตอบในเชิงจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้มีผลคุ้มครองต่อความถูกต้องของวิชาชีพและนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถึงแม้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาของเขาจะมีลักษณะแตกต่างจากทรัพย์สินชนิดอื่น ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ อย่างไรก็ตามการพิจารณาในเรื่องข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้มักเป็นเรื่องที่ชี้ชัดให้เกิดความกระจ่างได้ยาก
4.การเข้าถึงข้อมูล(Access)ธรรมชาติขิงผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้ข้อมูลนั้นจะพิจารณาถึงความสามารถที่ใช้คือเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรมาใช้ได้อย่างเหมาะสมซึ่งข้อมูลจะถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในระดับที่แตกต่างกันไปข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการแข่งขันจำเป็นต้องใช้รหัสพิเศษก่อนที่ผู้ใช้จะมีสิทธิใช้งานและสามารถใช้ได้อย่างจำกัดดังตัวอย่างบริษัทที่มีประวัติข้อมูลลูกค้าทั้งในอดีตและปัจจุบันเจ้าของบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้าเหล่านั้นหรือไม่และบริษัทดังกล่าวจะขายรายชื่อลูกค้าพร้อมกับรายละเอียดส่วนตัวให้กับบริษัทอื่นได้หรือไม่คำถามเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผู้ครอบครองข้อมูลทั้งสิ้น

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 13

สรุปบทที่ 13 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ ที่ช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง ซึ่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงเป็นการดำเนินการธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
การจำแนกประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้ 4 ลักษณะดังนี้ ธุรกิจกับธุรกิจ(B2B), ธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C), ธุรกิจกับรัฐบาล(B2G) และผู้บริโภคกับผู้บริโภค(C2C) ส่วนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งได้ 6 รูปแบบดังนี้ รายการสินค้าออนไลน์ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ การประกาศซื้อ-ขายสินค้า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
การทำการค้าบนโลกอินเทอร์เน็ตมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากการค้าขายทั่วๆไป ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปดังต่อไปนี้
-การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
-การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
-การให้บริการได้ตลอด24 ชั่วโมง
-การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
-การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
-การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
-โครงข่ายเศรษฐกิจ
-การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
การที่องค์การจะนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานเพื่อสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้เพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น ส่วนข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ความน่าเชื่อถือต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีความแน่นอน ต้นทุนในการพัฒนาค่อนข้างสูงหรือลูกค้ายังไม่สามารถเชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า เป็นต้น
ส่วนหลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างจากหลักการตลาดทั่วไป ซึ่งเรียกว่าหลักการตลาด6Ps ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย การรักษาความเป็นส่วนตัว และการให้บริการแบบเจาะจง อีกทั้งยังพบปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดต่างๆในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพบว่ารัฐบาลควรมีมาตรการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างรีบด่วน เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทำการค้าด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นใจ นอกจากนี้ต้องมีกฎหมายรัดกุมและต้องส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมความรู้ทางด้านสารสนเทศด้วย


แบบฝึกหัดบทที่ 13

1.จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เป็นการดำเนินการธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

2.เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง
เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยทรงเสริม และเพิ่มช่องทางให้กับธุรกิจ ซึ่งแฝงไปด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อมสำหรับผู้ประกอบการ

3.ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
สามารถจำแนกได้ 4 ลักษณะดังนี้ ธุรกิจกับธุรกิจ(B2B), ธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C), ธุรกิจกับรัฐบาล(B2G) และผู้บริโภคกับผู้บริโภค(C2C)

4.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร
พาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์มีข้อแตกต่างจากการดำเนินการทั่วไปดังนี้
1. เพื่อประสิทธิภาพและระสิทธิผล
2. การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
3. ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
4. ควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตัวเอง
5. สร้างร้านค้าเสมือนจริง
6. ช่วยติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค
7. ส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
8. สร้างโครงข่ายเศรษฐกิจ

5.หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ประกอบด้วย
1.ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตรงตามความต้องการของลูกค้า
2.ราคา ควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับตลาดและผู้บริโภค
3.ช่องทางการจัดจำหน่าย หาทำเลการค้าที่ดี
4.การส่งเสริมการขาย กระบวนการที่จะทำให้ขายสินค้าได้มาก เช่น การลด แลก แจก แถมสินค้า เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า
5.การรักษาความเป็นส่วนตัว คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ผู้ดูแลเว็บไซต์จึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกจารกรรมออกไปได้
6.การให้บริการแบบเจาะจง เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้

6.จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสาร

7.จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความน่าเชื่อถือต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีความแน่นอน ต้นทุนในการพัฒนาค่อนข้างสูงหรือลูกค้ายังไม่สามารถเชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า

8.ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
1. ปัญหาในเรื่องของผู้ประกอบการ
2. ปัญหาในเรื่องของบุคลากรยังไม่มีความพร้อม
3. ปัญหาในเรื่องของการตลาด
4. ขาดความเชื่อมั่นในผลตอบแทนที่จะได้รับ
5. ปัญหาในเรื่องของความเชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัย
6. ความเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อของธุรกิจ ว่าจะได้สินค้าที่มีคุณภาพตามความต้องการ
7. ค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ตและค่าบริการสื่อสารยังมีราคาแพง
8. กลุ่มเป้าหมายทางการค้าหรือประชาชนนั้นยังขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต9. ผู้ประกอบการยังกังวลกับกฎหมายที่รองรับการประกอบการ

สรุปและแบบฝึกหัดบทที่ 12

สรุปบทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ

หัวใจสำคัญในการธำรงอยู่ขององค์การธุรกิจ คือ ธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืน และสามารถดำเนินการแข่งขันกับคู่แข่งอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลให้องค์การธุรกิจต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอกจนการรักษาพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และสามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงในสังคม ซึ่งเราเรียกวิธีนี้ว่า “การดำเนินเชิงกลยุทธ์”
ปัจจุบันเราสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การในหลายระดับตั้งแต่การปฏิบัติงานประจำวัน การจัดทำและนำเสนอสารสนเทศแก่ผู้บริหาร จนกระทั่งถึงการดำเนินงานในระดับกลยุทธ์ขององค์การ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น
· การกำหนดโครงสร้างและการดำเนินงานขององค์การใหม่
· การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างองค์การกับลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และพันธมิตรธุรกิจ
· การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและการให้บริการ
· การเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันและการเป็นพันธมิตร
· การส่งเสริมศักยภาพในด้านการตัดสินใจละการทำงานกลุ่ม
· การสร้างความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าหรือล้มเหลว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงบทบาทสำคัญ นอกเหนือจากการสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีส่วนในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นผู้บริหารสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงานอย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างผลงานให้แก่ตนเองแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่องค์การด้วย


แบบฝึกหัดบทที่ 12

1. เหตุใดองค์การส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศจากความต้องการการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากกว่าความต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์?
เพราะการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดีจะทำให้องค์การมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่างๆได้ และอาจจะทำให้องค์การได้เปรียบคู่แข่ง ในด้าน

2.ความได้เปรียบทางการแข่งขัน(Competitive Advantage) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง?
แก่นของความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจภาคเอกชน กลยุทธ์ในการแข่งขันก็คือการค้นหาความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมตลาด หรือการได้กำไรที่มากกว่าที่บริษัทอื่นทำได้ตามปกติ กลยุทธ์เช่นนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้บริษัทสามารถได้กำไรได้อย่างยั่งยืนเหนือกว่าคู่แข่ง เมื่อบริษัทคู่แข่งรู้จักใช้ไอทีเหมือนกับเราก็จะทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะรักษาความได้เปรียบเอาไว้ได้ตลอดไป การเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอาจทำให้คู่แข่งขันสามารถพัฒนาระบบใหม่ ๆ ได้ในเวลาอันสั้นและทำให้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเมื่อปีก่อนกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปได้ โดยปกติแล้วระบบสารสนเทศจะไม่สามารถช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนได้
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ประกอบปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ดอกเบี้ยและน้ำมันมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น การหลั่งไหลของสินค้าจากประเทศจีน เป็นต้น ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์ที่ดี ที่จะสามารถ แข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้

3.องค์การจะสามารถธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะด้านสารสนเทศอย่างไร?
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถ ปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของ แต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations) เพื่อพัฒนาและธำรง รักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Abilety)ขององค์การ การประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สอดรับกัน (Harmony)ระหว่างโครงสร้างองค์การ กลยุทธ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนสูง

4.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ?
โครงสร้างขององค์การธุรกิจสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ ซึ่งประกอบไปด้วยฐานข้อมูลต่าง ๆ ขึ้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างในประเทศไทยและสหรัฐ?
ผู้บริหารไทยไม่ด้อยกว่าด่างชาติ ขอเพียงแต่ผู้บริหารไทยศึกษาหาความรู้ในนวัตกรรมใหม่ๆ (New Innovation) และศึกษาการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ

6.ผู้บริหารสมควรทำอย่างไร เพื่อให้ทราบความต้องการด้านสารสนเทศขององค์การในอีก 5 ปีข้างหน้า?
องค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถยู่ปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
7.จงอธิบายบทบาทของผู้บริหารระดับสูง ที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ?
บริหารระบุความต้องการ สารสนเทศ ได้ชัดเจน และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
1. ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ในการออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
2. ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการ ต่อเชื่อม ระหว่าง หน่วยงาน ทั้ง ภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดความ รู้สึกที่ดีต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจาก นี้ผู้บริหาร
3.ผู้บริหารต้องวางแผน ความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอด คล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ

8.เหตุใดองค์การจึงต้องกำหนดความต้องการก่อนและหลังด้านสารสนเทศ?
เพื่อให้ทราบว่าองค์การต้องการอะไร เป้าหมายขององค์การเป็นอย่างไร เพื่อที่จะวางแผนและปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมาย


9.เราสามารถประเมินคุณภาพของการดำเนินการด้านสารสนเทศในแต่ละองค์การได้อย่างไร?
- พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงหรือไม่
- พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือหรือไม่
- พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด

10.เหตุใดธุรกิจจึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการด้านสารสนเทศขึ้น เพื่อทำการตัดสินใจในงานสำคัญด้านสารสนเทศขององค์การ?
เพราะจะได้บุคลากรที่มีความรู้ในงานเฉพาะด้าน และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น